A16-2 อาหารเสริมจุลินทรีย์ (25 กรัม x 6 ซอง)

อาหารเสริมสำหรับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ต่อสิงแวดล้อม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและจำนวนจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ เช่น จุลินทรีย์ในดิน ซึ่งเป็นเหมือนโรงงานปุ๋ย ยา ฮอร์โมนสำหรับพืช จุลินทร์ในน้ำที่ช่วยให้น้ำดี เป็นปุ๋ยพืช และเป็นอาหารสัตว์ ช่วยอากาศดี

฿2,394 ฿2,000.00
570.00 แต้ม 114.00 แสตมป์
สินค้าคงเหลือ 1 ชิ้น
  

ส่งฟรี

 





สุดยอดอาหารเสริมจุลินทรีย์

 

สินค้านวัตกรรมทางการเกษตร

"ขุนทองพลัส" อาหารเสริมจุลินทรีย์ (25 กรัม x 6 ซองใหญ่)

อัตราการใช้ : 1 ซอง (25 กรัม) จะมีซองย่อยอีก 5 ซองๆ ละ 5 กรัม ผสมน้ำได้ 200 ลิตร x 5 ซองย่อย = 1,000 ลิตร

ดังนั้น 6 ซอง จะมีซองย่อยอีก 30 ซอง ผสมน้ำได้ 6,000 ลิตร (ตกเพียงลิตรละ 33 สตางค์เท่านั้น)

"ขุนทองพลัส" เป็นสินค้านวัตกรรมกรรมทางการเกษตรที่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำจึงช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้อย่างมาก

 

ขุนทองพลัส  เป็นอาหารเสริมจุลินทรีย์สูตรผงนาโน ปลอดสารพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีส่วนผสมที่เพิ่มขึ้นออกฤทธิ์เห็นผลเร็วและแรงกว่า  เป็นสูตรพิเศษที่มีการเสริมคุณภาพของวัตถุดิบให้มีความเข้มข้น และมีประโยชน์ต่อการสร้างเสริมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อ ดินมากยิ่งขึ้น  โดย 1 ซอง ประกอบไปด้วย สารฮิวมิค สาหร่ายทะเล สารฟูลวิค กรดอะมิโน กลูโคลส และสารอาหารต่างๆ โดยผ่านกระบวนการผสมด้วยสูตรลับเฉพาะของเรา ทำให้ขุนทองพลัส เป็นอาหารจุลินทรีย์ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ควบคุมจุลินทร์ที่ให้โทษแก่ ดินน้ำและอากาศ นอกจากนี้ ขุนทองพลัส ยังผ่านการผสมหมักบ่มกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์มากต่อการคืนความสมดุลให้ธรรมชาติสร้างดินให้อุมดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผลต่างๆ เพื่อทดแทนจุลินทรีย์บางตัวที่ถูกทำลายจากสารเคมี เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จากธรรมชาติและจากหัวเชื้อสามารถเพิ่มจำนวนจากอาหารที่ได้รับจนมีจำนวนมาก มีพลัง มีความสามารถในการต้านจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโทษกับ ดิน จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เมื่อได้รับอาหารและสารบำรุงจากขุนทองพลัส จะมีจำนวนมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อดินทำให้ดินมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ น้ำไม่เสีย อากาศไม่เสีย ส่งผลให้การเพาะปลูกพืชผลต่างๆ มีความเจริญงอกงาม ช่วยต้านทานเชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย ที่มีโทษ ทำให้พืชต้านทานโรคและแมลงได้ดีขึ้น ตามธรรมชาติ  จึงเป็นการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต อีกทั้งปลอดภัยแก่คนและสัตว์ ไม่ทำให้ดินเสีย คนก็ไม่ป่วย จึงทำให้ชีวิตดีขึ้น ขุนทองพลัส นอกจากจะเป็นอาหารเสริมจุลินทรีย์แล้วยังช่วยบำรุงพืชโดยทางอ้อมอีกด้วย นอกจากนี้ยัง สะดวกต่อการพกพา ลดค่าขนส่งได้มาก จัดเก็บง่าย ขนย้ายง่าย ลดต้นทุนได้มาก ที่สำคัญคือ  สามารถลดการใช้ปุ๋ยได้มาก  สามารถละลายน้ำได้ดีและเร็ว ละลายหมดไม่มีตกตะกอน ทำให้โครงสร้างของดินดี  ดินโปร่ง ร่วนซุย น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก รากพืชแผ่ขยายได้ง่าย ผสมน้ำราดโคนต้น จะช่วยปรับสภาพดินเหนียวให้คลายตัวออก สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดินให้พืชกลับนำมาใช้ใหม่ได้ใหม่อย่างเต็มที่ในดินทรายจะช่วยอุ้มน้ำ รักษาความเป็นกรด ด่าง ไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว สามารถประยุกต์ใช้ในการทำน้ำหมักจุลินทรีย์  ปุ๋ยหมัก หรือเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยด้วยการคลุกปุ๋ยได้

 

ทำไมต้องใช้ อาหารเสริมจุลินทรีย์ ขุนทองพลัส เลี้ยงจุลินทรีย์?

เพราะการปรับสภาพดิน ปรับปรุงดิน  สร้างจุลินทรีย์ดิน การแก้ปัญหา ดินเสื่อมโทรม ดินกรด ดินเปรี้ยว  ดินเหนียว ดินแข็ง ดินทราย ดินตื้น ดินแน่น ดินขาดธาตุอาหาร ดินแล้ง ดินเสื่อมสภาพ ดินปนเปื้อนสารเคมีตกค้างในดิน หากต้องการให้เร็วมและมีประสิทธิภาพต้องมีการกระตุ้น เติม เสริม อย่างมีประสิทธิภาพจึงจะเกิดผลได้ไว เนื่องจาก ขุนทองพลัส มีอาหารจุลินทรีย์ดินที่มีคุณภาพ หลากหลาย ช่วยเรียกจุลินทรีย์ดิน และยังมีสารอาหารที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่จุลินทรีย์ต่างๆ และมีหัวเชื้อจุลินทรีย์ดินตัวที่มีประโยชน์ไปเป็นจุลินทร์ตั้งต้นในพื้นที่ที่ขาดจุลินทรีย์ตัวนั้น มีสารอาหารที่ช่วยเรียกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้เกิดตามธรรมชาติและขยายตัวได้เร็ว และมีประสิทธิภาพในการสร้างประโยชน์ให้แก่ดินทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เมื่อจุลินทรีย์ดีแข็งแรงและมีมากจึงจะป้องกันจุลินทรีย์ไม่ดีได้ และจุลินทรีย์ก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ด้วย

 

บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร

เกษตรกรรุ่นใหม่หลายๆท่านมีคำถามว่าทำไมต้นไม้ พืชที่อยู่ในป่า จึงแข็งแรง ทนทาน ต้านโรคและแมลง ปุ๋ยก็ไม่เคยมีใครเอาไปใส่ให้ แต่กลับเติบโตออกดอกติดผลให้เก็บมาบริโภคกันอย่างต่อเนื่อง ที่คนสมัยก่อนเรียกว่าของป่านั้นเอง พืชเหล่านั้นได้ปุ๋ยมาจากที่ไหน ขาดน้ำหลายเดือนก็ยังอยู่ได้ และเกษตรกรหลายๆท่านเคยแปลกใจบ้างไหมว่าการทำการเกษตรใช้สารเคมีคุณภาพดีๆราคาแพงๆยิ่งใช้ผลผลิตยิ่งลดลงเรื่อยๆไปถามผู้รู้ท่านก็ตอบว่าเพราะดินไม่ดี ดินมันตาย มันไม่มีชีวิต

ดินที่มีชีวิต เป็นดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินรวมถึงจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดินด้วย สมดุลของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินสภาพธรรมชาติก็คือ ความสมดุลในด้านของจุลินทรีย์และความหลากหลายของจุลินทรีย์  ฉะนั้นจำนวนจุลินทรีย์กับความหลากหลายของจุลินทรีย์ในดินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ดินที่เหมาะสมที่สุดในการทำการเกษตร คือดินที่มีจุลินทรีย์อยู่หลายกลุ่ม ตัวอย่างเช่น ดินป่า ซึ่งนั้นคือตัวอย่างของดินที่มีชีวิต

ในอดีตการทำการเกษตรของไทยทั้งพืชยืนต้น ผักสวนครัวและพืชล้มลุกใช้ปุ๋ยเคมีเพียงเล็กน้อยก็ได้ผลผลิต ผลตอบแทนที่สุดแสนจะคุ้มค่าจึงเป็นค่านิยมเดิมๆของเกษตรกรที่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเรื่อยมาเป็นการสอนต่อจากรุ่นสู่รุ่นว่าปุ๋ยสูตรนั้นสูตรนี้ดีมากมาย มีการไถตากพื้นดิน โรยปูขาว เผาทำลายวัชพืช ตอซัง ซากพืช ซ้ำร้ายยิ่งกว่าคือการใช้สารเคมีล้วนๆในการกำจัดวัชพืชต่างๆและนั้นเป็นสาเหตุสะสมมาอย่างต่อเนื่องที่ทำให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่เป็นตัวสร้างสภาวะแวดล้อมให้พืชหรือสร้างระบบนิเวศน์ในดินได้ถูกทำลายลงอย่างถาวรแต่สิ่งที่น่าแปลกใจยิ่งกว่าคือจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชแมลงศัตรูพืชกลับพัฒนาตนเองให้มีชีวิตอยู่ได้และมีความต้านทานสารเคมีต่างๆมากขึ้น

จุลินทรีย์ในดินมีหน้าที่ในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการแปรสภาพอินทรีย์วัตถุ ซากพืช ซากสัตว์มูลสัตว์ต่างๆในดินให้กลายเป็นแร่ธาตุอาหาร กรดอะมิโน และฮอร์โมนพืชชนิดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับพืช เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่าจุลินทรีย์ก็คือ ตัวการที่จะทำให้สารอินทรีย์ย้อนกลับไปเป็นธาตุอาหารพืชใหม่ได้อีกครั้ง นั่นคือทำให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชในดิน ในปัจจุบันการทำการเกษตรมีการใช้ปุ๋ยเคมีกันมากเพราะความต้องการผลผลิตที่มากขึ้น เมื่อต้องการผลผลิตมากขึ้นก็จำเป็นต้องนำเอาปัจจัยการผลิตอื่นๆใส่เข้าไปเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการใช้อย่างไม่สมดุล เป็นการใช้อย่างทำลายมากกว่า จะเห็นได้จากกรณีการเปิดป่า หรือการนำพื้นที่มาใช้จะเริ่มต้นด้วยการเผา ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ส่วนหนึ่งตายไป และอินทรีย์วัตถุส่วนหนึ่งหายไป ส่วนที่เคยอยู่ในระบบก็หายไปอยู่นอกระบบ เมื่อจุลินทรีย์หลายชนิดตายไปอีกหลายชนิดก็ลดจำนวนลง อัตราการเกิดกระบวนการหมุนเวียนย้อนกลับไปเป็นปัจจัยการผลิตก็ลดน้อยลง เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้ตายหรือลดน้อยลงก็ทำให้ดินนั้นตายไปด้วย และนี่คือบทบาทของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ดังที่กล่าวมาข้างต้นเมื่อต้องการให้ระบบนิเวศของดินกลับมาทำงานหรือกลับมามีชีวิตเกษตรกรจึงต้องเติมจุลินทรีย์เหล่านั้นเข้าไปในสวนเกษตรของเกษตรกร

 

ในอาหารเสริมจุลินทรีย์ ขุนทองพลัส มีส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่ผ่านการคัดสรรค์ว่ามีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในดิน 10 ชนิด ประกอบด้วย

1. อะโซโตแบคเตอร์ Azotobacter vinelandii มีหน้าที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้พืชได้ใช้ ซึ่งในอากาศมีไนโตรเจนมากกว่า78% เป็นแบคทีเรียที่เคลื่อนที่ได้ใช้ออกซิเจนอยู่อย่างเป็นอิสระในดิน มีความสำคัญในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้เปลี่ยนรูปเป็นไนเตรทและแอมโมเนียที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะผลิตเอ็นไซม์ไนโตรจิเนส  เพื่อช่วยการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้เป็นสารประกอบไนโตรเจนดังกล่าวและกรดอะมิโนที่พืชนำไปใช้ได้นั้นเอง

2. อะโซโตแบคเตอร์  Azotobacter chroococcum มีหน้าที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้พืชได้ใช้ ซึ่งในอากาศมีไนโตรเจนมากกว่า78% เป็นแบคทีเรียที่เคลื่อนที่ได้ใช้ออกซิเจนอยู่อย่างเป็นอิสระในดิน มีความสำคัญในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้เปลี่ยนรูปเป็นไนเตรทและแอมโมเนียที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะผลิตเอ็นไซม์ไนโตรจิเนส  เพื่อช่วยการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้เป็นสารประกอบไนโตรเจนดังกล่าวและกรดอะมิโนที่พืชนำไปใช้ได้นั้นเอง

3. อะโซสไปริลลัม (Azospirillum sp.) จุลินทรีย์สร้างสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตฮอร์โมน เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโตไคนิน และวิตามิน เช่น ไธอามีน ไบโอติน วิตามินบี 12 ซึ่งเป็นสารช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ดและรากพืช เร่งการเจริญเติบโตของพืชส่งเสริมการออกดอก และเพิ่มการติดผล

4. บาซิลลัส เมกะทีเรียม (Bacillus megaterium var. phoshaticum) ช่วยละลายธาตุฟอสฟอรัส (จากปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส)ที่ถูกดินยึดไว้ซึ่งไม่เป็นประโยชน์กับพืชให้ละลายกลับมาเป็นปะโยชน์กับพืชอีกครั้งโดยทั่วไปพืชจะนำธาตุฟอสฟอรัสไปใช้ได้เพียง 20% ส่วนอีก 80% จะถูกดินยึดไว้ แบคทีเรียตัวนี้จะทำให้ส่วนฟอสฟอรัส 80% ที่ถูกดินยึดไว้ละลายออกมาและกลับเป็นประโยชน์กับพืชอีกครั้ง  ธาตุฟอสฟอรัสมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาระบบรากของพืช ถ้าพืชมีระบบ รากดีจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตขอส่วนเหนือดินทำให้พืชตั้งตัวเร็ว  การเจริญเติบโต และผลผลิตเพิ่มขึ้น     พืชที่นิยมใช้หินฟอสเฟตรองก้นหลุม เช่นยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลทุกชนิด ตลอดจน พืชผักพืชไร่ และ ไม้ดอกไม้ประดับ  ซึ่งจะช่วยในเรื่องทำให้พืชติดตอกติดผล

5. แซคคาโลมัยซีส (Saccharomyces cerevisiae) ช่วยละลายธาตุฟอสฟอรัส (จากปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส)ที่ถูกดินยึดไว้ซึ่งไม่เป็นประโยชน์กับพืชให้ละลายกลับมาเป็นปะโยชน์กับพืชอีกครั้งโดยทั่วไปพืชจะนำธาตุฟอสฟอรัสไปใช้ได้เพียง 20% ส่วนอีก 80% จะถูกดินยึดไว้ แบคทีเรียตัวนี้จะทำให้ส่วนฟอสฟอรัส 80% ที่ถูกดินยึดไว้ละลายออกมาและกลับเป็นประโยชน์กับพืชอีกครั้ง  ธาตุฟอสฟอรัสมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาระบบรากของพืช ถ้าพืชมีระบบ รากดีจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตขอส่วนเหนือดินทำให้พืชตั้งตัวเร็ว  การเจริญเติบโต และผลผลิตเพิ่มขึ้น     พืชที่นิยมใช้หินฟอสเฟตรองก้นหลุม เช่นยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลทุกชนิด ตลอดจน พืชผักพืชไร่ และ ไม้ดอกไม้ประดับ  ซึ่งจะช่วยในเรื่องทำให้พืชติดตอกติดผล

6. บาซิลลัส ไลเคนนิฟอมิส (Bacillus lichenifomis) เป็น facultative anaerobic คือ สามารถทำงานได้ทั้งสภาวะที่มีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ได้ ซึ่งตัวนี้เหมาะสำหรับย่อยสลายสารอินทรีย์ที่พื้นบ่อ ทำให้มีขี้เลนน้อยลงและกำจัดกลิ่นเลนเหม็น และยังช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไมได้อีกด้วย เหมาะกับพื้นที่เกษตรที่เคยเป็นทุ่งน่าเก่าหรือดินเกษตรมีลักษณะเป็นดินเลนในที่ราบลุ่ม

7. บาซิลลัส โพลีมายซา (bacillus polymyxa) จะไปจับอยู่ที่รากพืชผลิตสารที่ช่วยปกป้องพืชจากเชื้อโรค การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้กับรากของพืชยังทำให้ขนรากมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุอาหาร

8. บาซิลัส ซับทีลีส (Bacillus subtills )ซึ่งจะมีคุณสมบัติการ ย่อยสลายอินทรีย์ที่ดี และมีประสิทธิภาพในการย่อยสูงมาก สามารถย่อยได้ทั้งโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ผลิตปุ๋ยโปรเตสเซียมให้เป็นประโยชน์ โดยละลายแร่ธาตุโปรแตสเซียมที่ถูกดินยึดเอาไว้ ซึ่งจะช่วยในเรื่องทำให้พืชติดตอกติดผล

9. คีโตเมี่ยม (Chaetomium lucknowense) ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า กรดอินทรีย์ ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล .ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน.  อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ) และส่วนที่เป็นท็อกซิน. ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืชได้

10. สเตร็ปโตมายซิส เทอร์โมฟิลัส streptomyces thermophilus เป็นแบคทีเรียในสกุล Streptococcus ที่สร้างกรดแล็กทิก (Lactic acid) เจริญในสภาพที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำหรือไม่มีออกซิเจน เป็นแบคทีเรียที่ชอบร้อน ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารหมักจากน้ำนม ได้แก่ นมเปรี้ยว เช่น โยเกิร์ต เนยแข็งโดยจะเปลี่ยนน้ำตาลแล็กโทส น้ำนม เป็นกรดแล็กทิก (Lactic acid) และสร้างกรดฟอร์มิก (Formic acid)

 

คุณสมบัติของ จุลินทรีย์ดิน

1. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ผลิตธาตุอาหาร(N,P,K)ธาตุอาหารหลักในดินเปรียบเสมือนเป็นการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยใต้ดิน เนื่องจากจุลินทรีย์ทุกตัวจะทำการผลิตธาตุอาหรต่อเนื่องและตลอดเวลา ทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี ซึ่งพืชก็ใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้อย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างสมบูรณ์เช่นกัน

2. แปรสภาพอินทรีย์วัตถุในดินให้กลายเป็นธาตุอาหารรองสำหรับพืช เมื่อใส่ลงไปในดินจุลินทรีย์จะเติบโตและสร้างกลุ่มรอบผิวรากหรือในรากพืช ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและปกป้องระบบรากของพืช ช่วยส่งเสริมการเจริญ เติบโตของพืชหรือพีจีพีอาร์ (PGPR, plant growth promoting Rhizobacteria) ซึ่งมีสมบัติในการส่งเสริมและ ป้องกันพืชผ่านกลไกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการผลิตฮอร์โมนพืช ละลายธาตุอาหาร ควบคุมการดูดซึม สารอาหาร และชักนำระบบความต้านทานโรคพืชในพืช

3. สร้างฮอร์โมนเช่น ฮอร์โมนกลุ่มมออกซิน (auxins) ซึ่งกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์การแบ่งเซลล์และการเปลี่ยน สภาพของเซลล์ สร้างเอนไซม์ไคติเนส (chitinase) และ ลามินาริเนส (laminarinase) ย่อยเส้นใยเชื้อราโรคพืช สร้างสารปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชได้

4. ตัวจุลินทรีย์เองมีองค์ประกอบของธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกกานีส คาร์โบไฮเดตร ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ ฯลฯ ดังนั้นเมื่อตัวจุลินทรีย์ตายลงธาตุอาหารทั้งหมดเหล่านี้ก็จะกลายเป็นธาตุอาหารสำหรับพืชทันที เนื่องจากจุลินทรีย์มีความสามารถขยายตัวเป็นล้านล้านตัวภายใน24ชั่วโมง จุลินทรีย์ที่เกิดแล้วมีอายุ48-72ชั่วโมง เมื่อตายไปก็กลายเป็นอาหารพืชต่อไป ซึ่งระบบจะหมุนเวียนกันไปเช่นนี้เรื่อยๆพืชจึงมีอาหารอย่างสม่ำเสมอ

5. ช่วยให้พืชได้รับปุ๋ยเคมีและอินทรีย์ชีวภาพได้มากขึ้น ทำให้ใช้ปุ๋ยน้อยลง ลดปัญหาสารเคมีตกค้างในดินอันเป็นสาเหตุของดินเป็นกรด-ด่างสูง เป็นการปรับสภาพของดินที่มีความเป็นกรด-ด่างสูงไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก

6. ป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียโรคพืชเข้ามาในชั้นดิน บริเวณรากและโคนต้นของพืช เมื่อมีจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยฃน์ต่อดินอยู่ในปริมาณมากทำให้การเกิดและเติบโตการขยายตัวของเชื้อราและแบคทีเรียโรคพืชเป็นไปได้ยาก ตัวจุลินทรีย์มีความสามารถในการสร้างสารปฎิชีวนะในการป้องกันโรคพืชทั้งในดินและบนดิน

 

ความสามารถของจุลินทรีย์ดิน

1. มีความสามารถในการขยายพันธุ์แบบทวีคูณจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 ไปเรื่อยๆ หากเริ่มจาก 100 ตัว มันก็จะขยายพันธุ์แบบทวีคูณจาก 100 ×100 เป็น 10,000 ตัว และจาก 10,000 × 10,000 ตัวเป็น 100 ล้านตัวโดยใช้เวลาเพียง  4-6 ชั่วโมงและขยายเป็นล้านล้านตัวภายใน24ชั่วโมง

2. มีอายุสั้นเพียง 48-72 ชั่วโมง  จุลินทรีย์จึงสามารถเป็นแหล่งอาหารให้กับพืชและสัตว์ได้อย่างรวดเร็ว รากฝอยของพืช1รากสามารถดูดจุลินทรีย์ที่ตายแล้วได้ถึง 5,000 ตัว

3. ตัวจุลินทรีย์มีองค์ประกอบของธาตุอาหารหลักอาหารรองอย่างครบถ้วน ได้แก่ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม แคลเซียม, แมกนีเซียม, คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, โปรตีน, เกลือแร่ ฯลฯเป็นต้น มันจึงเป็นอาหารสำหรับพืชได้ดังนั้นเมื่อจุลินทรีย์ตายลงจะกลายเป็นอาหารพืชได้ทันทีเหมือนอาหารทางด่วน พืชจะตอบสนองได้เร็วมาก ทางกายภาพก็จะอยู่ในรูป โตไว ให้ปริมาณดอก ผลมาก คุณภาพผลผลิตสูง

 

ผลพลอยได้จากส่วนผสมของ อาหารเสริมจุลินทรีย์ ขุนทองพลัส

สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ

1. ผงโพแทสเซียมฮิวเมท 100% (Potassium Humate 100%)

2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)

3. ผงสาหร่ายสกัด (Seaweed Extract)

4. อะมิโน แอซิค (Amino Acid)

5. น้ำตาลกลูโคส (Dextrose monohydrate)

6. สารในกลุ่มอาหารจุลินทรีย์อื่นๆ

7. หัวเชื้อจุลินทรีย์ดิน

8. อื่นๆ

 

1. ผงโพแทสเซียมฮิวเมท 100% (Potassium Humate 100%)โพแทสเซียมฮิวเมท คือ สารสกัดเข้มข้นจากฮิวมัส ช่วยปรับสภาพดินเหนียวให้คลายตัวออก ในดินทรายจะช่วยอุ้มน้ำ โครงสร้างของดินแข็งแรงทนต่อการชะล้างกัดกร่อนของน้ำ ช่วยให้ดินโปร่ง ร่วนซุย อุ้มน้ำ ระบายน้ำดี น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก รากพืชแผ่ขยายได้ง่าย รักษาความเป็นกรด-ด่างของดินมิให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว

ประโยชน์

  • ช่วยให้ธาตุอาหารในดินที่มีอยู่แล้วให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ง่าย เพิ่มความเป็นประโยชน์  ของธาตุอาหารในดิน
  • เชื่อมอนุภาคดินให้เป็นกลุ่ม เป็นโครงสร้างดินที่ดี ช่วยให้การระบายอากาศ การซึมซาบน้ำของดินดีขึ้น
  • กระตุ้นการแบ่งเซลล์และขยายขนาดเซลล์พืชเจริญเติบโต ดอกใหญ่ ผลใหญ่เร็วขึ้น
  • กระตุ้นให้รากเจริญงอกงามแผ่กระจาย พืชหาอาหารเก่ง
  • ช่วยเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ด ต้นกล้าสมบูรณ์ แข็งแรง
  • เพิ่มอัตราการหายใจ เพิ่มการสังเคราะห์แสง
  • ลดความเครียดเนื่องจากธาตุอาหารไม่สมดุลย์ แร่ธาตุเป็นพิษ ขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด หนาวจัด
  • กระตุ้นการดูดซึมน้ำ การไหลเวียนภายในเซลล์พืช ดินอุ้มน้ำได้มากขึ้น ลดการสูญเสียน้ำในดิน
  • เมื่อสลายตัวจะปลดปล่อยไนโตรเจน กำมะถัน และธาตุอาหารเสริมออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างช้าๆ

 

ฮิวมัส คือ สารประกอบอะโรมาติค รวมตัวกับ กรดอะมิโน ที่ผ่านการย่อยสลายแบบสมบูรณ์แล้ว

     สารประกอบฮิวมัส คือ อินทรียวัตถุในดินที่ฟุ้งกระจายตัวในชั้นดินมีฤทธิ์เป็นกรด
     - กรดฟูลวิค คือ สารประกอบที่มีน้ำหนักโมลิกุลต่ำ เป็นสารอินทรีย์สีน้ำตาลสกัดได้จากดิน,ถ่านหิน และ ซากพืช จนได้เป็น กรดฟูลวิค

     - กรดฮิวมิค คือ สารประกอบที่มีน้ำหนักโมลิกุลปานกลาง เป็นสารอินทรีย์สีดำได้จากการสกัด ดิน,ถ่านหิน และ ซากพืช จนได้เป็น กรดฮิวมิค

     - ฮิวมิน คือ สารประกอบ ที่มีน้ำหนักโมลิกุลสูง  เป็นอินทรีย์วัตถุที่เป็นของเหลือจากการผลิตกรดฮิวมิค

โปรแตสเซียมฮิวเมท คือ สารประกอบฮิวมัส โดยมี กรดฮิวมิค เป็นองค์ประกอบ ประมาณ 80 - 90 %

ฮิวมิค คือ ซากพืชซากสัตว์ที่ย่อยสลายแล้วมีองค์ประกอบของคาร์บอนอยู่

 

2. ฟลูวิค แอซิด (Fulvic acid) เป็นสารจากธรรมชาติ มีขนาดโมเลกุลที่เล็ก จะช่วยรักษาสมดุลของสารอาหารและแร่ธาตุที่มีประจุต่างๆ ในพืช  เพิ่มการดูดซึมของระบบราก และทางใบ โดยการกระตุ้นการทำงานของผนังเซลล์ และให้พลังงานและช่วยขนส่งสารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน และเอ็นไซม์ต่างๆ ในพืชจากรากหรือใบ ไปยังจุดที่พืชต้องการได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้การทำงานของปฏิกิริยาทางเคมีต่างๆ และการขนส่งสารอาหารต่างๆ ในพืชทำงานได้อย่างสมบูรณ์  ฟูลวิก แอซิด เป็นสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลเล็ก และมีคุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุสูง ฟูลวิก แอซิด จึงรวมเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกับธาตุต่างๆ ได้ ทำให้สามารถจับกับธาตุอาหารหรือปุ๋ยที่มีอยู่หลายรูปแบบ ปุ๋ยและธาตุอาหารเหล่านั้นจึงถูกดูดซึมพร้อมๆ กันกับฟูลวิกเข้าสู่ต้นพืชทั้งทางรากและทางใบได้ดีมากขึ้น

ประโยชน์ของ ฟูลวิค แอซิด (FULVIC ACID)

            1. ช่วยรักษาสมดุลของประจุไฟฟ้าเคมีต่างๆ ในเซลล์พืชทุกเซลล์  ซึ่งมีความสำคัญมากในการมีชีวิตของ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ประจุไฟฟ้าทางเคมีในเซลล์สิ่งมีชีวิตที่สมดุลทำให้สิ่งมีชีวิตในแข็งแรง เจริญเติบโตเต็มที่และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การขาดสมดุลจะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นอ่อนแอ เป็นโรค และตายในที่สุด

            2. ปรับเปลี่ยนปุ๋ยและสารอาหารที่ให้หรือที่มีอยู่ในดิน  ให้อยู่ในรูปที่ปลดปล่อยและดูดซึมเข้าเซลล์ได้ง่ายพืชสามารถนำไปใช้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

            3. ให้พลังงานและช่วยขนส่งปุ๋ย สารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน และเอ็นไซม์ต่างๆ ในพืชจากรากหรือใบ ไปยังจุดที่พืชต้องการได้อย่างรวดเร็ว

            4. ทำให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารเข้าสู่ใบ และยังสามารถเคลื่อนย้ายธาตุอาหารและยาผ่านเซลล์พืชไปยังส่วนต่างๆของพืชที่ต้องการธาตุอาหารนั้นๆ ได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

            5. ช่วยเร่งการทำงานของเอ็นไซม์และวิตามินในเซลล์พืช ซึ่งมีผลต่อขบวนการทางเคมีสำคัญๆ ของพืช เช่น ขบบไฮเดรตให้เป็นการสะสมน้ำตาลวนการสังเคราะห์แสง ขบวนการหายใจ เป็นต้น

            6. เปลี่ยนรูปแบบการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตให้เป็นการสะสมน้ำตาลที่ละลายน้ำได้ดี  ซึ่งจะเพิ่มความดันในเซลล์ ทำให้พืชสามารถทนทานต่อความแห้งแล้ง และความหนาวเย็นได้ดี

            7.  เพิ่มขบวนการสังเคราะห์โปรตีน เพิ่มจำนวน DNA ในเซลล์

            8. ลดความเป็นพิษ เนื่องจากความเข้มข้นสะสมของปุ๋ยและยาเมื่อน้้าระเหยแห้งไป

            9. พืชจะตอบสนองต่อปุ๋ยและยาได้เร็วขึ้น

            10. เพิ่มอัตราการการสังเคราะห์แสง โดยกระตุ้นให้พืชสร้างคลอโรฟิลล์มากขึ้น จึงสามารถผลิตแป้งและน้้าตาลได้มากขึ้น

            11. เพิ่มการสังเคราะห์ เอนไซม์ และกรดนิวคลีอิค เร่งปฏิกิริยาระหว่างเอนไซม์ กรดอะมิโน ธาตุอาหารและฮอร์โมนต่างๆ จึงเป็นการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชในด้านต่างๆ เช่น การงอกของเมล็ด การเกิดราก การแตกตา ดอก ยอด กิ่งข้าง และขนาดของล้าต้น กิ่งใบ และผล

            12. ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคพืช และลดความเครียดจากภาวะแห้งแล้ง

 

3. ผงโปรตีนจากสาหร่ายทะเล  เป็นโปรตีนจากสาหร่ายทะเลที่ประกอบด้วยอาหารสำหรับพืช มีสารอาหาร และฮอร์โมน สาหร่ายทะเลแบบผงนี้สามารถเพิ่มธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุ  ส่งเสริมขบวนการสังเคราะห์แสงและการขยายผลของพืชไร่ ช่วยการติดตาดอก กระตุ้นการแตกกิ่งแตกใบ ออกดอก ออกผล เพิ่มขนาดผล การแตกยอด เปิดตาดอกได้ดีขึ้น มีส่วนช่วยในการเพิ่มน้ำหนักให้แก่พืช นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดินได้เป็นอย่างดีในกรณีที่ฉีดพ่นและมีละอองบางส่วนลงสู่ดิน  เป็นสารอาหารที่ได้จากธรรมชาติ ไม่ใช่สารเคมี จึงปลอดภัยต่อผู้ใช้

 

4. กรดอะมิโน  กรดอะมิโน ทำให้พืชเจริญเติบโตแข็งแรง ใบมีสีเขียวสด ดอกและผลเจริญเติบโตดี ช่วยเร่งความหวานและเพิ่มสีผล ทำให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี สร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง อีกทั้งยังช่วยให้พืชทนต่อสภาวะต่างๆ ได้อีกด้วย จากประโยชน์ที่ได้กล่าวมานี้ เกิดจากการที่กรดอะมิโนเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ดูดซึมง่าย พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที และเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนต่างๆ ที่สำคัญต่อพืช ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นการทำงานในระบบต่างๆ ให้สมบูรณ์และยังทำให้พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้ดี ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้เราทราบว่าทำไมปุ๋ยเม็ด หรือผลิตภัณฑ์ชนิดน้ำที่มีกรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบ จะช่วยทำให้พืชเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรงได้ผลดีและเร็วกว่าการใช้ปุ๋ยทั่วไป

  • ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ในดิน
  • ช่วยปรับโครงสร้างของดินทำให้ดินร่วนซัย อุ้มน้ำและให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ช่วยให้จุลินทรีย์ในดินย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่ตกค้างอยู่ในดินให้เป็นอาหารพืชต่อไป
  • ช่วยให้ระบบรากของพืชแผ่ขยายได้อย่างรวดเร็ว สามารถดูดสารอาหารเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พืช
  • ช่วยดูดน้ำให้ชุ่มชื้นตลอดเวลา ทำให้พืชสามารถดูดสารอาหารได้ต่อเนื่องและยาวนาน
  • ช่วยป้องกันการขาดธาตุอาหารของพืช และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น
  • ช่วยทำให้พืชสมบูรณ์แข็งแรง ยากต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง
  • ช่วยการเปิดตาดอก ทำให้ออกดอกและติดผลเร็วขึ้น
  • ช่วยเพิ่มจำนวนดอก เพิ่มขนาดผล เพิ่มสีสัน และเพิ่มรสชาติของพืช

ประกอบด้วยกรดอะมิโนรวม 16 ชนิด และสารไซโตไคนิน ที่จำเป็นสำหรับพืชผักและผลไม้ทั่วไป ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้น (precursor) ที่ดีสำหรับพืชทุกชนิดทั้งไม้ผล พืชผัก พืชไร่ นาข้าว และไม้ดอกไม้ประดับ

  1. อะลานีน (Alanine : Ala) เกี่ยวกับปฏิกิริยาทรานส์อะมิเนชันโดยอาศัยเอนไซท์ทรานส์อะมิเนสให้ไพรูเวท และถูกนำเข้าสู่กระบวนการ gluconeogenesis กรดอะมิโนอะลานีนจะช่วย เพิ่มรสชาติ และเพิ่มความหวานให้แก่พืชผักผลไม้ 
  2. อาร์จินีน (Arginine : Arg) บทบาทเป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโต ควบคุมการสร้างเพกตินในผนังเซลล์ ช่วยทำให้เนื้อเยื่อแน่น ส่งเสริมการพัฒนาของราก เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมน ส่งเสริมเอธีลีน ช่วยชะลอการแก่ตัวชองใบ ส่งเสริมโพลิอามีนหลายชนิด โพลิอามีนเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืชต่อความเครียดจากสิ่งแวดล้อม ภาวะเครียดจากดินเค็ม การขาดน้ำ และความเครียดจากภาวะเป็นกรด 
  3. กรดแอสปาติก (Aspartic acid : Asp) จะทำให้เกิดการจับ CO2 โดยเกิดในส่วนเมโซฟิลล์ของใบซึ่ง Phospoenol(PEP) จะรวมกับ CO2 โดยมีเอนไซม์( Phospoenol Pyruvate Carboxylase (PEP Carboxylase) เป็นตัวคะตะไลท์ ปฏิกิริยาซึ่ง CO2 ถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอน 4 อะตอม มีบทบาทในการกระตุ้นการแตกรากและเพิ่มจำนวนราก
  4. ซีสเทอีน (Cystein : Cys) มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในไซโทรพลาซึมของเซลล์ ทำให้โครงสร้างของโปรตีนมีเสถียรภาพ เนื่องพันธะไดซัลเฟอร์(Disulfide Bond) อันเกิดจากส่วนที่เหลือ (Residues) ของชีทเทอีนในโซ่พอลิเพ็บไทด์ (Polypeptide Chains) เป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างทุติยภูมิ ทำให้เอนไซม์ทำหน้าที่สมบูรณ์ ส่งเสริมการสังเคราะห์โปรตีนที่ยอดอ่อน ผล ปลายราก และช่วยควบคุมการดูดซัลเฟตของราก
  5. กรดกลูตามิก (Glutamic acid, glutamate : Glu) เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการ Metabolism มีบทบาทในกระบวนการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ โดยจะไปเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบพืช ทำให้ใบมีสีเขียวเพิ่มขึ้น สังเคราะห์แสงได้มากขึ้น และเสริมภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัส นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวคีเลทส่งเสริมการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารภายในต้นพืชช่วยในการดูดซับไนโตรเจน เพิ่มรสชาติ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบ และราก พบมากในโปรตีนของเมล็ดพืช 
  6. ไกลซีน (Glycine : Gly) เพิ่มความหวาน เป็นสารตั้งต้นกระบวนการ Metabolism ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญสำหรับการสร้าง พัฒนาเนื้อเยื่อพืช กระบวนการสังเคราะห์คลอโรฟิลด์ ทำให้พืชมีใบเขียวขึ้น เกิดการสังเคราะห์แสงมากขึ้น ทำหน้าที่เป็น Bacteriostatic Action ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์บางชนิดได้ โดยจะเข้าไปทำลายการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวคีเลต ส่งเสริมการดูดซับปริมาณธาตุอาหารมากขึ้น และช่วยส่งเสริมการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารภายในต้นพืช 
  7. ไอโซลิวซีน (Isoleucine : Iso) จะถูกทำ transamination แล้วตามด้วย oxidative carboxylation ๖การเติมหมู่คาร์บอกซิล )ได้เป็น α Keto acid ส่วนอีก 5 คาร์บอนที่เหลือก็จะถูกออกซิไดซ์ต่อได้เป็น acetyl-CoA และ propionyl-CoA มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นกลไลการป้องกันของพืช
  8. ลิวซีน (Leucine : Leu) คือกรดอะมิโนประเภทคีโตจินิค (ketogenic) จะสลายให้ acetyl CoA กับ aceto acetyl CoA ในปกิกิริยาหลายขั้นตอนของกระบวนการเมแทบอลิซึม ซึ่งจะควบคุมกระบวนการพัฒนา การเพิ่มจำนวนเซลล์การบำรุงรักษาเซลล์ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบ และราก
  9. ไลซีน (Lysine :Lys) ถูกสังเคราะห์เป็น aspartic 3 – semi aldehyde homoserine ซึ่ง aspartic 3-semialdehyde ร่วมกับไพรูเวทจะสร้าง และสลายอาศัยปฏิกิริยาหลายขั้นตอน ในที่สุดให้ตัวกกลางที่สำคัญ คือ glutaryl CoA เปลี่ยนแปลงต่อจะได้ acetoacetyl CoA และสลายเป็น acetyl CoA ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึม ช่วยเพิ่มความสดของสีสันในพืช
  10. เมทไทโอนีน (Methionine : Met) เป็นกรดอะมิโนที่สำคัญในการให้หมู่เมทธิล(-CH3) แก่ตัวรับผ่านทาง s-adenosylmethionine ส่วนอีก 3 คาร์บอนที่เหลือก็จะถูกเปลี่ยนเป็น propioyl-CoA ซึ่งเป็นสารต้นตอของ succinyl-CoA กับสารอื่นในกระบวนการ Metabolism เร่งการเจริญเติบโต และการแบ่งเซลล์ของพืชมีบทบาทเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนโดยจะถูกเปลี่ยนไปเป็น S-adenosyl methionine (SAM) ในลำดับต่อมา SAM ถูกเปลี่ยนเป็น 1-aminocyclopropane-1-carboxylic (ACC) จะถูกเปลี่ยนไปเป็นเอทธิลีนจะช่วยในการออกผล การสุกของผล เพิ่มความหวาน ส่งเสริมไซโตไคนินและเอธีลีนจะช่วยในการเคลื่อนย้ายออกซิน ส่งเสริมการพัฒนาราก
  11. ฟินิลอะลานีน(Phenylalanine : Phe) มาจาก Phosphoenol pyruvate รวมกับ erythrose 4 phosphate เพื่อสร้าง chorismate และprephenate มีบทบาทในการกระตุ้นการแตกราก เพิ่มจำนวนราก และป้องกันโรคพืช
  12. โปรลีน (Proline : Pro) เป็นกรดโปรตีโนเจนิกอะมิโนที่หมู่ข้างเป็น ไซคลิกและเชื่อมต่อกับหมู่ เอ-อะมิโน ช่วยในการงอกของตา การผสมเกสร และการออกผลทำให้ผลใหญ่ เพิ่มความหวาน เพิ่มรสชาติ ช่วยพืชจากภาวะความเครียด เช่น สภาวะน้ำท่วม จากความร้อน และจากสภาวะดินเค็ม รวมถึงการสูญเสียของเซลล์และการควบคุมการเจริญเติบโต
  13. ซีรีน (Serine : Ser) เป็นตัวกลางในกระบวนการ Metabolism โดยการออกซิเดชั่นของ 3-phosphoglycerate ให้เป็น 3-phospopyruvate และตามด้วยปฏิกิริยา transamination ได้ ฟอสฟอเซรีน ซึ่งจะกลายเป็นเซรีนโดยอาศัยเอนไซม์ฟอสฟาเตส (phospatase) ช่วยเพิ่มความหวาน
  14. กรดธรีโอนีน (Threonine : Thr) ช่วยในการออกผล เพิ่มความหวาน กรดอะมิโน ทรีโอนีนสามารถนำมาสร้างกรดอะมิโนไกลซีนได้โดยอาศัยเอนไซม์ serine hydroxyl methyl transferase ผลิตผลข้างเคียงที่ได้ คือ acetaldehyde ซึ่งกลายเป็น acetyl CoA โดยอาศัยเอนไซม์ aldehydedehydrogenase ในการย่อยสลายซึ่งสารที่ได้จะเป็นตัวกลางในกระบวนการ Metabolism ช่วยให้พืชมีการสร้างและพัฒนาเนื้อเยื่อ
  15. ไทโรซีน (Tyrosine : Tyr) บทบาทสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ส่ง สัญญาณ ของเซลล์พืช ควบคุมการเคลื่อนไหวของปากใบโดยกลไกของ Guard cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ข้างๆ โดยทั่วไปปากใบจะรวมไปถึงรูใบและเซลล์รอบๆ ซึ่งคือ Guard cell และ Subsidiary cell ไอน้ำจะระเหยอกมาจากพาลิเซด (Palisald)และสปอนจี (Spongy) ของใบเข้าสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์ ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อกับปากใบและอากาศ ภายนอกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะซึมเข้ามาในทิศทางตรงกันข้าม แล้วเซลล์ก็รับคาร์บอนไดออกไซด์ไป ใบจะมีปากใบอยู่ทางด้านหลังใบและท้องใบ ช่วยให้เซลล์แก่ช้า
  16. วาลีน (Valine : Val) เป็นกรดอะมิโนประเภทกลูโคจินิค (glucogenic) จะถูกทำ transamination และdecarboxylation (การกำจัดหมู่คาร์บอกซิล) ในกระบวนการเมแทบอลิซึม หลังจากนั้นจะเป็นอนุกรมของปฏิกิริยาออกซิเดชันเพื่อเปลี่ยน 4 คาร์บอนไปเป็น propionyl-CoA ซึ่งจะเพิ่มรสชาติ และความสดของพืช 

สรุป กรดอะมิโนที่เติมลงไปในผง ขุนทองพลัส มีส่วนช่วยให้พืชเจริญเติบโตแบบสมดุลเนื่องมาจาก สามารถช่วยแก้ปัญหากรณีพืชขาดน้ำ ขาดธาตุอาหาร หรือ แสงแดดร้อนจนเกินไป อีกทั้งยังเป็นสารธรรมชาติที่มีส่วนช่วยให้จุลินทรีย์ในดินเจริญเติบโตได้ดี ทำให้ดินดีขึ้นอีกด้วย

 

5. กลูโคลส น้ำตาลทางด่วนพร้อมใช้  เกรดพรีเมี่ยม  

     สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายกรณี เช่น  ผสมในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชบางสูตร  ผสมอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ รา  ฉีดพ่นให้พืช (บางท่านเรียกว่าน้ำตาลทางด่วน) เป็นต้น

คุณประโยชน์

1. ให้พลังงานพืชทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง เพิ่มคุณภาพและความหวานให้กับผัก ผลไม้

2. ช่วยขบวนการสังเคราะห์แสงดีขึ้น เพิ่มพลังงานและสารอาหารสะสม โดยขบวนการธรรมชาติ

3. ช่วยปรับสมดุลของธาตุอาหารและฮอร์โมนภายในพืช ทำให้พืชมีสภาพแข็งแรง สะสมอาหารได้ดี โตเร็ว เพิ่มขนาดและน้ำหนักของผลผลิต

4. ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยวตัดแต่งกิ่งเร่งการแตกใบอ่อนสะสมอาหาร

5. ช่วยให้พืชทนต่อสภาพแห้งแล้งและความหนาวเย็นได้ดี ป้องกันลดปัญหาการหลุดร่วงของดอกและผล

6. เมื่อฉีดน้ำตาลทางด่วนให้กับพืชแล้ว พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หลังจากฉีดพ่นตามทรงพุ่มแล้ว ประมาณ 2-3 ชั่วโมง 

7. เหมาะสำหรับพืชในช่วงที่ต้องการใช้พลังงานมากกว่าปกติ เช่น ช่วงแตกใบอ่อน ช่วงการออกดอก ช่วงติดผล และช่วงที่เร่งความหวานให้กับผลไม้

8. ลดปัญหาการหลุดร่วงของผลเนื่องจากการแบ่งอาหารสะสมของใบอ่อนที่แตกในระยะติดผลอ่อนหรือเนื่องจากอาหารสะสมในต้นไม่เพียงพอ โดยจะไปช่วยเสริมเป็นแหล่งอาหารทำให้พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันท่วงทีก่อนที่จะมีปัญหาผลร่วง

ความคิดเห็น