- มิกซ์ฟูลาร์ เชื้อราเมตาไรเซียมผสมบิวเวอร์เรียมิกซ์ฟูลา ใช้ป้องกันกำจัดหนอนและแมลง เช่น ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ปลวก เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไรแดง แมลงหวี่ขาว หนอนกระทู้คอรวง หนอนกอข้าว หนอนใยผัก หนอนม้วนใบ หนอนหนังเหนียว และแมลงวันผลไม้
- ส่วนผสม : เชื้อราเมธาไรเซียมบนเมล็ดข้าวอินทรีย์ ชนิดผงสปอร์ 50%
- เชื้อราบิวเวอร์เรียบนเมล็ดข้าวอินทรีย์ ชนิดผงสปอร์ 50%
- วิธีการใช้
- 1. สภาพอากาศแห้ง ควรทำการกระตุ้นเชื้อก่อนการฉีดพ่น โดยนำเชื้อ 50 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร พักไว้ 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นเติมน้ำอีก 20 ลิตร เติมสารจับใบ แล้วนำไปฉีดพ่นทุก 7-10 วัน
- 2. สภาพอากาศชื้น โดยนำเชื้อ 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร เติมสารจับใบ แล้วนำไปฉีดพ่นทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นให้ถูกตัวแมลงศัตรูพืชหรือบริเวณที่แมลงศัตรูพืชอาศัยอยู่ ควรฉีดพ่นช่วงเวลาเย็น เพราะสภาพอากาศเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา
- ขนาด 500 กรัม ผสมน้ำได้ประมาณ 200 ลิตร
เชื้อราเมตาไรเซียมผสมบิวเวอร์เรีย
เมื่อกล่าวถึงเชื้อราที่สามารถใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชแล้ว เกษตรกรส่วนใหญ่จะรู้จักเชื้อราบิวเวอร์เรียกันเป็นอย่างดี เพราะมีการส่งเสริมให้ใช้กันมานานแล้วจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ทราบหรือไม่? ว่ายังมีเชื้อราอีกชนิดหนึ่งที่สามารถกำจัดแมลงได้เป็นอย่างดี คือ เชื้อราเมธาไรเซียม เชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้ มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
เชื้อราเมธาไรเซียม (Metarhizium spp.) เชื้อราเขียว เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงศัตรูพืช เชื้อราเขียวเป็นสิ่งมีชีวิตสีเขียวที่สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น ด้วงมะพร้าว, ปลวก, เพลี้ยอ่อน, หนอนผักผลไม้ อีกทั้งยังสามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นานนับปี.
เชื้อราบิวเวอร์เรีย ( Beauveria bassiasna ) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ในอันดับ Homoptera Lepidoptera Coleoptera และ Diptera ซึ่งได้แก่แมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ หนอนผีเสื้อ ด้วง และแมลงวัน หรือยุง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสามารถกำจัดปลวก และมดคันไฟได้ ทำให้มดและปลวกตายยกรังได้
แมลงพวกปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว ไรแดง และมวนต่างๆ อาการของพืชที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงแมลงจำพวกนี้มีปากแบบดูด (sucking) สามารถแทงและดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน กิ่ง ลำต้น ดอก หรือ ผล ทำให้ส่วนต่างๆ ของพืชที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงมีรอยไหม้ ใบม้วนเหี่ยว ไม่เจริญเติบโต หรือแคระแกร็น และนอกจากนี้แมลงจำพวกนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการถ่ายทอดและแพร่กระจาย เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุโรคพืช ทำให้พืชอ่อนแอและตายได้ แมลงพวกปากกัด ได้แก่ หนอนผีเสื้อชนิดต่างๆ เช่น หนอนคืบ หนอนกระทู้หนอนใยผัก ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง ด้วงหมัดผัก แมลงค่อมทอง ด้วงเต่าแตง แมลงพวกนี้มีปากแบบกัดกิน (chewing) สามารถกัดกินใบทั้งหมด หรือกัดกินเฉพาะตัวใบแล้วเหลือเส้นใบไว้ อาการของพืช ที่ถูกแมลงกัดกิน พืชที่ถูกแมลงกัดกินใบ ใบจะแหว่ง ขาด เป็นรู จนกระทั่งเหลือแต่เส้นใบ หรือก้านใบ ทำให้พืชขาดส่วนสังเคราะห์แสง หรือขาดที่สะสมอาหาร หรือขาดยอดอ่อนสำหรับการเจริญเติบโตต่อไป ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตการแตกยอดใหม่เกิดช้า ถ้าระบาดมากช่วงให้ผลผลิต ทำให้ดอกร่วง ไม่ติดผลและผลไม่โต